ดับเบิ้ลเท็กซ์ กับการดูแลรักษาสวนยาง 1.ใช้ระบบการกรีดยางให้ถูกต้อง คือ กรีดยาง 1 วัน หยุด 2 วัน หรือ 1 วัน หยุด 3 วัน ( หากน้ำยางไหลนานกว่า 15 ชั่วโมง เนื่องจากต้นยางต้องใช้เวลา ในการพักฟื้นอย่างน้อย 60-72 ชั่วโมง ในการผลิตน้ำยางขึ้นมาใหม่ 2.ให้ใส่ปุ๋ยปีละ 4 ครั้ง ครั้งละ 3-4 ขีด เพื่อเป็นการรักษาเปอร์เซนต์น้ำยางให้อยู่ในระดับดี
- สำหรับยางแก่ - ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 30 - 5 - 18 - สำหรับยางอ่อน - ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15 -7 -18
3.ห้ามไถพรวน เพราะ เป็นการตัดรากฝอยของต้นยางที่ใช้ในการดูดน้ำ และ หาอาหาร ดังนั้น การไถพรวนจะลดประสิทธิภาพ ในการหาอาหาร และ ทำให้ผลผลิตน้อยลง 3-4 เดือน และห้ามใช้ยาฆ่าหญ้าเพราะสารเคมีจะทำละลายระบบรากฝอย ของต้นยาง
4.ควรปลูกพืชคลุมดิน เพราะการปลูกพืชคลุมดินเป็นการรักษาความชื้นให้กับต้นยาง เนื่องจากทุกวันนี้ฝนตก ไม่ตามฤดูกาล จึงต้องรักษาความชื้นในสวนยางให้มากที่สุด
ดับเบิ้ลเท็กซ์ กับความเชื่อผิดผิด ของคนไม่รู้จริง
1. โรคหน้ายางตายนึ่ง หรือ โรคเปลือกแห้ง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
1.1 การกรีดยางถี่เกินไป ( กรีด 3 หยุด 1 หรือ 4 หยุด 1 ) 1.2 ใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอ หรือ ปุ๋ยที่ใส่ไม่ได้คุณภาพ ปุ๋ยปลอม ซึ่งทำให้ต้นยางขาดสารอาหารที่จำเป็น 1.3 กรีดยางในขณะที่ใบยางไม่สมบูรณ์ ( ใบยางสีเขียวไม่เข้มพอ ) 1.4 ความชื้นไม่เพียงพอ เนื่องจากอากาศร้อนจัด
2. ไม้ขายไม่ได้ราคา - ปัจจุบันมีการศึกษาและได้ผลเป็นที่แน่ชัดว่า เอทธิลีนไม่มีผลต่อเนื้อไม้ ดังนั้นการขายไม้ไม่ได้ราคานั้น เป็นเพียงวิธีการกดราคาของพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง ( สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก วารสารยางพารา ฉบับอิเลคทรอนิกส์ 1 เรื่อง การเปรียบเทียบ ผลผลิต คุณภาพ และสมบัติ ของไม้ยางพาราแปรรูปจากต้นที่ผ่านการกรีดแบบปกติ กับต้นที่ผ่านการเจาะร่วมกับการใช้เอทธิลีน )
วิธีป้องกันโรคหน้ายางตายนิ่ง
1.กรีดยางระบบ 1 วัน หยุด 1 วัน เพราะต้นยางต้องการเวลาอย่างน้อย 48 - 72 ชั่วโมง ในการสร้างน้ำยางขึ้นมาใหม่ 2.หากอากาศร้อนอัด และความชื้นไม่เพียงพอให้พักกรีด 3.ใส่ปุ๋ยที่ได้คุณภาพ และมีแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อต้นยางครบถ้วน มีค่า N-P-K ปีละอย่างน้อย 3 - 4 ครั้ง 4.หากต้นยางอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ควรหยุดพักกรีด
ดังนั้น ปัญหาโรคหน้ายางแห้ง ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการใช้ ฮอร์โมนเอทธิลีนแต่ในทางกลับกัน ถ้าใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน กรีดยางเพียง 4 นิ้ว และกรีดระบบ 1 วัน หยุด 2 วัน จะทำให้ต้นยางมีเวลามากพอในการสร้างน้ำยางและเยื่อเจริญขึ้นมาใหม่ ทดแทนช่วยทำให้ต้นยางไม่โทรม